หลงป่าต้องทำยังไง!!! (When you get lost in forest!)

เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเตรียมการรับมือจึงเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เครื่องมือที่ดีที่สุดในการเอาตัวรอดเมื่อเราพลัดหลงหรือหลงทางในขณะที่ออกไปท่องเที่ยวธรรมชาติคือ “การวางแผนล่วงหน้า”

แม้จะเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้นๆไม่กี่ชั่วโมง ก็ควรจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นให้เพียงพอ เช่น น้ำดื่ม อาหาร และเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ

รายการสิ่งของจำเป็นที่ควรพกติดตัว

  • จัดเตรียมน้ำและอาหารให้มากกว่า จำนวนวันที่วางแผนไว้
  • เข็มทิศที่ตัวเรารู้วิธีใช้งาน การพกเข็มทิศอิเลคโทคนิค (GPS, Smart Phone) อาจมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ หรือปัญหาในการรับสัญญาณดาวเทียมในกรณีที่อยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ เช่น ในหุบ หรือ พื้นที่ต้นไม้หน้าแน่น
  • ศึกษาข้อมูล แผนที่ ลักษณะภูมิประเทศ และวางแผนการเดินทางล่วงหน้า กำหนดจุกเริ่มต้น เส้นทางเดิน และจุดหมาย โดยเราสามารถหาข้อมูลได้จาก รีวิวต่างๆ สอบถามข้อควรระวังจากเจ้าหน้าที่ และหาแผนที่ได้จาก Google Map หรือแผนที่โดยสังเขปจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
  • รองเท้าที่เหมาะสม เครื่องแต่งกายที่เข้ากับสภาพอากาศ และถุงเท้าสำรอง 1 คู่ >>> [มือใหม่เริ่มเดินป่า] การเลือกเครื่องแต่งกาย สำหรับเดินป่าในประเทศไทย
  • อุปกรณ์ดำรงชีพฉุกเฉินที่จะสามารถให้เราอยู่รอดได้หากตั้งค้างคืนในป่าแบบกะทันหัน เช่น ผ้าห่มฉุกเฉิน, ไฟฉาย, ไฟแช็ก หรือไม้ขีดไฟที่เก็บในถุงกันน้ำ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลขั้นต้น และนกหวีดสำหรับส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการวางแผนล่วงหน้าที่รัดกุม คือการบอกรายละเอียดแผนการเดินทางของเราให้กับคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิท เช่น จำนวนวัน จุดเริ่มเดิน จุดหมายปลายทาง เส้นทางเดิน(บางที่ขึ้นได้หลายทาง) จำนวนคนที่ไปด้วย และเบอร์ติดต่อคนอื่นที่ร่วมเดินทางไปกับเรา

การมีสติ และไม่ตื่นตระหนก คือสิ่งสำคัญเมื่อหลงป่า

หน่วยงานพิทักษ์ป่าของสหรัฐอเมริกา (US Forest Service) ได้แนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเมื่อหลงป่าไว้ดังนี้

ภาพถ่ายโดย Wendelin Jacober จาก Pexels

“S T O P”

S – Stop: (หยุด) ทันทีเมื่อเราเริ่มรู้สึกตัวว่าเราพลัดหลงกับกลุ่มหรือหลงทิศทาง ให้หยุดเดินและสงบสติอารมณ์ การตื่นตระหนกจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง

T – Think (คิด) เริ่มคิดทบทวนถึงช่วงเวลาก่อนหน้าว่าเรามาอยู่ตรงจุดนี้ได้อย่างไร มีแยกหรือป้ายบอกทางก่อนหน้านี้หรือไม่ สำรวจสภาพแวดล้อมล้อมด้าน(ใช้เพียงสายตากวาดมอง หากไม่มีเหตุผลจำเป็นอย่าพยายามเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปัจจุบัน) เพื่อมองหาจุดสังเกตุที่สำคัญๆ(Landmark)

O – Observe (สังเกตุ) นำเข็มทิศออกมาเพื่อระบุตำแหน่งปัจจุบันและกำหนดทิศทาง “อย่าเดินอย่างไร้จุดหมาย” หากยังอยู่บนเส้นทางเดิน (Trail) ให้พยายามอยู่บนเส้นเทล เพราะโดยส่วนใหญ่เส้นเทลมักจะไปบรรจบกับทางแยก หรือมีป้ายสัญลักษณ์บอกตาม

P – Plan (วางแผน) นำข้อมูลจาก S-T-O มาวิเคราะห์และวางแผน โดยเลือกแผนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่หากยังไม่มั่นใจให้ยืนนิ่งๆอยู่กับที่และส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เช่น เป่านกหวีด (การเดินไปเรื่อยๆโดยไร้ทิศทาง จะทำให้ทีมค้นหาและกู้ภัยทำงานยากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับเกมส์แมวไล่จับหนู) หากตกดึก ได้รับบาดเจ็บ หรือหมดแรง ให้หาที่พักที่ปลอดภัยเพื่อค้างคืน

คำแนะนำพิเศษ

  • ให้หยุดพักเป็นช่วงๆระหว่างเดิน อย่าฝืนเดินจนหมดแรง
  • หลังจากรับประทานอาหารให้หยุดพัก 30 นาที ก่อนเริ่มเดินต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เดินอาหารจุดเสียด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ระหว่างอย่าให้เกิดอาการขาดน้ำ โดยจังเกตุได้จาก ปากแห้ง ไม่ปัสสาวะหรือปัสสาวะมีสีเข้ม ผิวแห้งตัวเย็น ปวดหัว และเป็นตระคริว
  • หยุดแก้ไขปัญหาเล็กๆน้อยๆที่พบเจอระหว่างทาง อย่าปล่อยไว้จนเป็นปัญหาใหญ่ เช่นเชือกรองเท้าหลุด หากเดินต่อไปอาจสะดุดล้มจนบาดเจ็บและกลายเป็นปัญหาร้ายแรงเกินกว่าตัวเราคนเดียวจะแก้ไขได้
  • หากอากาศร้อนจัดให้หลีกเลี่ยงการเดินในที่โล้งแจ้ง โดยหาร่มไม้ในการนั่งพักรอจนอากาศเย็นลงจึงค่อยเริ่มเดินต่อ

ระลึกไว้เสมอว่า ตัวเราต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตัวเราและคนรอบข้าง

อ้างอิง
https://www.fs.usda.gov/visit/know-before-you-go/if-you-get-lost
https://www.outdoorrevival.com/instant-articles/getting-lost-forest-survival-guide.html

One thought on “หลงป่าต้องทำยังไง!!! (When you get lost in forest!)

Add yours

  1. เคยหลงป่าในอุทยานทั้งในและนอกประเทศ คิดแค่ว่าจะเดินตามแผนที่วงเล็กๆ ก็กลับแล้วก็เลยไม่ได้เตรียมตัว ตอนนี้จะไปไหนก็ควรเตรียมตัวเผื่อหลงตลอด ทั้งในเมืองและในป่า😂

    Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: