

การฝึกอบรมกู้ภัยขั้นสูงถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะทำให้การปฏิบัติการกู้ภัยขั้นสูงประสบผลสำเร็จ ฟังแล้วดูเหมือนมันง่ายมาก แค่เราทำเหมือนกับที่เคยฝึกๆมา แต่มันไม่ได้ง่ายอย่างนั้นเสมอไป
.
มาตรฐานและการฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน
การกู้ภัยขั้นสูงหลักๆ 6 สาขา คือ กู้ภัยทางสูง, กู้ภัยที่อับอากาศ, การตัดถ่างรถและเครื่องจักร, โครงสร้างถล่ม, ดินโคลนถล่ม และกู้ภัยทางน้ำ ล้วนแล้วแต่มีองค์ความรู้ ทักษะและการปฏิบัติที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง
.
อุปสรรค 3 ประการ ในการฝึกอบรมการกู้ภัยขั้นสูง
ความท้าทายในการปรับใช้แผนการฝึกอบรมกู้ภัยขั้นสูงให้มีประสิทธิภาพ มีอุปสรรคอยู่ 3 ประการที่ต้องพิจารณา
- ประสบการณ์ของผู้สอน: การสอนและกำกับดูแลควรมีความถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย ซึ่งต้องมาจากประสบการณ์ องค์ความรู้ และความสามารถของทีมผู้ฝึกสอน
- ทรัพยากร: การฝึกกู้ภัยขั้นสูงจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคที่เฉพาะทาง ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งอุปกรณ์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และราคาค่อนข้างสูงยากต่อการจับต้อง หลายหน่วยงานฝึกอบรมการกู้ภัยขั้นสูงโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีใช้ในหน่วยงานของตนเอง
- เงินทุน: การฝึกอบรมกู้ภัยขั้นสูง ไม่สามารถทำได้ในกะหรือระยะเวลาสั้นๆ ถึงแม้จะทำได้ สิ่งที่ได้รับก็จะน้อยตามระยะเวลาที่ฝึก การต้องส่งบุคคลกรจำนวนมากเพื่อไปฝึกอบรมระยะเวลา 3-5 วันมีค่าใช้จ่ายตามมาค่อนข้างสูง ทำให้เป็นข้อจำกัดในการพิจารณาฝึกอบรมที่ฝ่ายบริหารจะคำนึงถึง

.
ความท้าทายเกี่ยวกับผู้สอน
ทางเลือกที่ 1: คัดเลือกบุคคลากรที่มีความชอบ มีใจรักในการกู้ภัยขั้นสูง อาจจะเป็นเพียงจำนวนน้อย และส่งไปฝึกอบรมการกู้ภัยขั้นสูงในระดับสูงจากภายนอก หลังจากนั้นนำเนื้อหาและข้อมูลต่างๆกลับมาสอนกันเองภายในองค์กร
ทางเลือกที่ 2: การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรหรือสถาบันภายนอก เพื่อสร้างหลักสูตรการกู้ภัยขั้นสูง โดยการจัดตั้งศูนย์ฝึกภายในพื้นที่ขององค์กรและใช้ผู้ฝึกสอนจากสถาบันที่ลงนามความร่วมมือ เป็นผู้ดำเนินการสอน
ทางเลือกที่ 3: ติดต่อกับสถาบันเอกชน บริษัทต่างๆ ในการเปิดสอนการกู้ภัยขั้นสูงให้กับองค์กร รวมถึงการฝึกทบทวนเพื่อต่ออายุของใบประกาศ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาล

.
ความท้าทายเกี่ยวกับทรัพยากร
ทางเลือกที่ 1: ประสานงานกับทีมอื่นๆ ทีมที่มีทรัพยากรและอุปกรณ์ เพื่อจัดฝึกร่วมกันซึ่งจะส่งผลดีในหลายๆด้าน
- พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันของทีมหรือหน่วยงานในพื้นที่
- พัฒนาความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ระหว่างหน่วยงาน
- เสริมสร้างความสัมพันธ์และความช่วยเหลือระหว่างหน่วยงาน
- ระบุข้อด้อยในการปฏิบัติการและส่งกำลังบำรุงของหน่วยง่าย
- สร้างข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดอ่อนของกันและกัน
ทางเลือกที่ 2: ติดต่อตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่ของหน่วยงาน เพื่อขอการสนับสนุนอุปกรณ์ในการฝึกอบรม มันอาจจะไม่ใช่แผนระยะยาวเพราะยังจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในการฝึกอบรม แต่โดยส่วนใหญ่บริษัทต่างๆยินดีจะให้ผู้ซื้อมีโอกาสได้สัมผัสและใช้งานจริง ซึ่งเป็นโอกาสให้หน่วยงานของท่านมีโอกาสในการทดลองใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ
ทางเลือกที่ 3: มองหานายทุน ซึ่งอาจจะเป็นความท้าทายเล็กน้อยแต่ก็อาจจะไม่ยากเกินไป เช่นการจัดการกุศลเพื่อระดมทุนจัดกาอุปกรณ์

.
ความท้าทายเกี่ยวกับเงินทุน
เงินทุนดูจะเป็นเรื่องใหญ่ในการจัดหา แต่ก็พอจะมีทางเป็นไปได้เช่นการ จัดการกุศลเพื่อระดมทุน หรือการขอทุนจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งโดยปกติหน่วยงานของรัฐจะมีโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานของท่านอาจเข้าไปติดต่อเพื่อขอทุนสนับสนุน เพียงแต่ท่านต้องเข้าไปให้ถูกที่ถูกเวลา

แหล่งที่มา firerescue1 / การฝึก Basic Rope Rescue Buriram
Leave a Reply