ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบทความถึงอุปสรรคในการพัฒนางานกู้ภัยขั้นสูงหรือกู้ภัยเชิงเทคนิคไปแล้วนั้น แน่นอนว่าเมื่อเจออุปสรรคย่อมมีคนหรือองค์กรที่ข้ามผ่านอุปสรรคนั้นไป แต่ก็อาจจะมีคนหรือหลายๆองค์กรที่ไม่สามารถข้ามผ่านอุปสรรคไปได้ จนก่อเกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติการกู้ภัยขั้นสูง ( FAILUREs of Technical Rescue ) ซึ่งหวังว่าบทความเกี่ยวกับ F.A.I.L.U.R.E นี้จะมีส่วนช่วยให้หลายๆคนและองค์กรข้ามผ่านอุปสรรคไปได้

Failure to understand or underestimating the environment
หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประสบภัยหรือนักกู้ภัยได้รับบาดเจ็บร้ายแรง คือการขาดความเข้าใจในพื้นที่และไม่ได้ประเมินสถานที่ก่อนปฏิบัติการ ซึ่งมาจากความคิดที่ว่า “คงจะไม่ซวยเกิดอะไรขึ้นกับเราหรอก” การประเมินสถานการณ์และสถานที่ (Scene Size-up) และวิเคราะห์ความเสี่ยงจะช่วยให้การจัดทำแผนปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Additional medical implications not considered
ในผู้บาดเจ็บที่ติดภายในยานพาหนะ ซึ่งอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้หลายระบบ เช่น การบาดเจ็บจากแรงกระแทก การบาดเจ็บทราศรีษะและกระดูกต้นคอ หรือการบาดเจ็บจากน้ำหนักที่กดทับ (compression syndrome) ซึ่งหากเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธีอาจทำให้ผู้บาดเจ็บมีอาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้นได้ หลายครั้งจำเป็นต้องได้รับการดูแลนอกโรงพยาบาล (Pre-Hospital) จากทีม ALS ก่อนที่จะทำการกู้ภัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้บาดเจ็บ
Inadequate rescue skills
การขาดทักษะในการปฏิบัติการกู้ภัย ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการขาดความรู้ความสามารถ แต่หมายถึงการขาดความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆที่มีอยู่ในองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในองค์กรอาจจะมีอุปกรณ์ที่คล้ายกันอยู่หลายอย่าง เช่นการเลือกใช้ คาราบินเนอร์ในการทำหลักยึดโยง (Anchor Point) โดยการใช้ คาราบินเนอร์ G Rate แทนการใช้ T Rat ที่มีค่า Minimum Break Strength น้อยกว่า
Lack of teamwork and experience
ในสถานการณ์ภัยพิบัตที่ร้ายแรงและมีขนาดใหญ่ การปฏิบัติงานจำเป็นต้องใช้กำลังจากพื้นที่ข้างเคียงร่วมปฏิบัติการ โดยที่มีอุปกรณ์และประสบการณ์แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน ถ้าหากหน่วยงานในพื้นที่ใกล้เคียงไม่เคยฝึกร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนการใช้อุปกรณ์ อาจส่งผลให้การปฏิบัติงานล้มเหลวได้
Underestimating logistical needs
ถ้าโชคดีหน่วยงานคุณเป็นหน่วยงานที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีบุคคลกรจำนวนมากสามารถที่จะขนอุปกรณ์กู้ภัยทั้งหมดเข้าพื้นที่ไปได้ แต่โดยปกติเราไม่สามารถที่จะขนอุปกรณ์ทุกอย่างไปด้วยได้ ดังนั้นการประเมินความต้องการอุปกรณ์และบุคคลกรที่จำเป็นต้องใช้มีผลต่อความสำเร็จของภารกิจ
Rescue versus recovery not considered
การพิจารณารูปแบบของปฏิบัติการระหว่างการกู้ภัยหรือกู้ชีพ มีผลต่อความปลอดภัยของทีมปฏิบัติการ เช่นการกู้ภัยของในอับอากาศ หากมีคนตกลงไปในบ่อหมักที่เต็มไปด้วยแก๊สติดไฟ โดยขั้นตอนปกติของระบบการแพทย์ฉุกเฉินตั้งแต่รับแจ้งเหตุและสั่งการ จนทีมแรกไปถึงก็กินเวลาไปเกือบ 8-10 นาทีแล้ว ซึ่งหมายความว่าผู้ประสบภัยอาจเสียชีวิตแล้ว และเมื่อทีมไปถึงการสวมชุด SCBA ตั้ง Tri-pod และระบายอากาศ ก็อาจกินเวลาอีก 10 – 15 นาที ซึ่งอาจต้องพิจารณาเป็นการปฏิบัติการกู้ร่าง ซึ่งในหน้างานจริงผู้บัญชาการเหตุการจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลสถานะของผู้ประสบภัย หากการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าผู้ประสบภัยอาจเสียชีวิตแล้ว ควรปรับเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติการกู้ร่างและแจ้งให้นักกู้ภัยทราบ เป็นการตัดสินใจที่ยากของการเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ แต่การตัดสินใจนี้อาจจะช่วยรักษาชีวิตของหลายๆคนในทีมได้
Equipment not mastered
นักกู้ภัยจำเป็นที่จะต้องทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ที่ใช้งาน รู้จักวิธีใช้งานที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต และการใช้งานในรูปแบบอื่นๆจากการเรียนรู้โดนผู้เชี่ยวชาญในอุปกรณ์นั้นๆ รู้จักวิธีการทำความสะอาด เก็บและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ รู้ว่าหากอุปกรณ์เกิดการชำรุดจำเป็นจะต้องติดต่อใครหรือที่ใดเพื่อหากอะไหล่มาทดแทน
จำไว้เสมอว่าเรามุ่งเน้นที่การปฏิบัติการ การจัดการฝูงชน การใช้ทักษะในการจัดการความวุ่นวายเพื่อให้เกิดระเบียบ และจะมองหาโอกาสใหม่ๆอยู่เสมอเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาออกแบบแผนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ความเร็วอย่างเดียวไม่ช่วยอะไร
“we can train out ignorance with practice— but we can’t fix stupid!”
Source: FireRescue1 Michael Lee, Buddy Martinette’s book
Leave a Reply