หนึ่งในภัยที่นักดับเพลิงต้องเผชิญเป็นประจำเมื่อออกปฏิบัติหน้าที่ในการดับเพลิง ไม่ว่าจะเป็นเพลิงรายเล็ก เพลิงรายใหญ่ เพลิงไหม้หญ้า เพลิงไหม้อาคาร หรือ เพลิงอุตสาหกรรม คือควันจากการเผาไหม้ของเศษวัสดุต่างๆที่มีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ตามแต่ระยะเวลาและปริมาณที่รับเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังสามารถติดอยู่บนเสื้อผ้าและอุปกรณ์ได้เป็นระยะเวลานาน ซึ่งในระยะยาวยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในนัดดับเพลิง

ดังนั้น นักดับเพลิงจึงไม่ควรมองข้ามภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ และควรใส่ใจในสุขชีวอนามัยในการทำงานของตนเอง

แล้วภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษคืออะไร มีอาการอย่างไร รักษาเบื้องต้นอย่างไร และจะป้องกันอย่างไรได้บ้าง?
คาร์บอนมอนอกไซด์(CO)เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว CO จะแย่งออกซิเจนในการจับตัวกับอีโมโกบิ่น ซึ่ง CO มีความสามารถในการจับกับฮีโมโกบิ่นได้ดีกว่าออกซิเจน 240 เท่า ทำให้ฮีโมโกบิ่นไม่สามารถนำส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ส่งผลให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนตามมา

ซึ่งคาร์บอนมอนอกไซด์ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสกับสาร โดยมีอาการต่างๆดังนี้
- ปวดศรีษะ เวียนศีรษะ
- เหนื่อยอ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีภาวะทางระบบประสาทที่เปลี่ยนแปลง เช่น ชัก หรือ หมดสติ
- ระบบหายใจล้มเหลว
- มีผื่นแดงขึ้นตามตัว (Cherry-Red Skin)

การดูแลผู้ป่วยคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษในภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้ผุ้ป่วยมีอาการที่ทุเลาและคงที่ก่อนนำส่งไปตรวจรักษายังโรงพยาบาลสามารถทำได้ดังนี้
- ให้ออกซิเจนความเข้มข้น 100% ผ่าน Simple Mask, Mask with Bag หรือ Non-rebreather mask
- ประเมินระบบทางเดินหายใจ
- หากผู้ป่วยหมดสติ ให้เปิดทางเดินหายใจด้วยท่า Head Tilt Chin Lift หรือ Trauma Jaw Thrust และใส่ Oropharygeal Airway (OPA) และ ช่วยหายใจด้วย Bag Valve Mask (BVM) ด้วยอัตรา 10-12 ครั้งต่อนาที(สำหรับทีมระดับ BLS)
- ประสานและปรึกษาศูนย์พิษวิทยา
- รีบนำส่งสู่การรักษาเฉพาะทาง
นักดับเพลิงสามารถป้องกันตัวเองจากภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็น หรือการเกิดโรคมะเร็งในระยะยาวได้ โดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติการ การชำระร่างกายและอุปกรณ์ทักครั้งหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ


- Hampson NB, Courtney TG, Holm JR. Diffusion of Carbon Monoxide Through Gypsum Wallboard. JAMA. 2013; 310(7): p. 745. doi: 10.1001/jama.2013.43127
- Lawson-Smith P, Jansen EC, Hyldegaard O. Cyanide intoxication as part of smoke inhalation – a review on diagnosis and treatment from the emergency perspective. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine. 2011; 19(1): p. 14. doi: 10.1186/1757-7241-19-14
- Rose JJ, Wang L, Xu Q, et al. Carbon Monoxide Poisoning: Pathogenesis, Management, and Future Directions of Therapy. Am J Respir Crit Care Med. 2017; 195(5): pp. 596–606. doi: 10.1164/rccm.201606-1275ci
Leave a Reply