Light Weight Gear จำเป็นมั้ย? ใช้ตอนไหน?

Minimal Gear หรือ Light weight Gear Setup จำเป็นมั้ยและจะใช้เมื่อไหร่?

Minimal Gear หรือ Light Weight Gear Setup ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่และอยู่ในช่วงที่หลายๆคนกำลังคิดค้นรูปแบบ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ระบบในการกู้ภัยมีน้ำหนักเบาขึ้น ลดภาระในการแบกหามของทีมกู้ภัยหากต้องทำงานในพื้นที่ทุรกันดาลที่ยานพาหนะเข้าไม่ถึง

Cr.Mountain Rescue Association
Cr.Mountain Rescue Association

2 รูปแรก มาจาก Mountain Rescue Association ในงานฝึกอบรมการดูแลและเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย แล้วเราเห็นอะไรในรูปบ้าง? (Cr. Mountain Rescue Association, MRA)
1.Patient Harness (สำเร็จรูป)
2.Basket with Wheel
3.Vacumm Mattress
อุปกรณ์ทั้ง 3 ชิ้นนี้มีขนาดที่ใหญ่ น้ำหนักมาก ยากต่อการแบกหาม เพิ่มภาระให้กับทีมกู้ภัยที่ต้องแบกหามเข้าพื้นที่ป่าภูเขาหรือทุรกันดาล แต่แลกมาด้วยการเพิ่มความปลอดภัย และความสบายให้กับผู้ประสบภัย เพราะอุปกรณ์ทั้ง 3 ชิ้น ใช้งานสะดวก มีมาตรฐาน สามารถช่วยเรื่อง Spinal motional restrictions, Protect Hypothermia, Secure patient with basket

หากมองในมุมทีมกู้ภัย(Rescue) อุปกรณ์และน้ำหนักที่น้อยลงย่อมส่งผลดีต่อทีม เพราะช่วยลดภาระในการแบกหาม ลดความเหนื่อยล้า ทำให้สามารถเดินทางเข้าถึงผู้ประสบภัยได้รวดเร็ว แต่หากต้องทำการเคลื่อนย้ายและดูแลผู้ประสบภัยในระยะยาว (Prolong Field Care / Prolong Transport) Light weight หรือ Minimal Gear setup อาจส่งผลในแง่ลบต่อตัวผู้ประสบภัยและต่อการดูแลผู้ประสบภัย

แล้วถ้าเราลองเพิ่มมุมมองของทีมกู้ชีพ(Medical)เข้ามาพิจารณาด้วยละ? “Primum non nocere” หรือแปลได้ว่า “First, do no harm!” -Hippocrates คือ “สิ่งแรก, ไม่ทำอันตราย” และการพิจารณาเรื่อง Quality of Life (คุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัย)

https://theenglishfarm.com/discussion/first-do-no-harm

หากลองนำมุมมองทั้ง 2 ฝั่งมาปรับให้สมดุลกัน Minimal Gear หรือ Light Weight Gear Setup ตอบโจทย์ในแง่ของความรวดเร็วในการเข้าถึงตัวผู้ประสบภัย แต่อาจไม่ตอบโจทย์ในด้าน Prolong field care and Transport

แล้วเราจะเลือกใช้ Minimal Gear หรือ Light weight setup เมื่อไหร่? เราสามารถเลือกใช้ Minimal Gear หรือ Light Weight ได้ในส่วนของการเข้าถึงตัวผู้ประสบภัย เพื่อทำการประเมิน(Intitial Assessment and Primary Survey) และให้การดูแลรักษาในช่วงแรก (First Response หรือ Recon Team) หรือ ใช้สำหรับการทำ Rapid Extrication Module Support (REMS) ในกรณีที่พื้นที่ของผู้ประสบภัยเป็น Unstable location

CMC 3D

ดังนั้น Minimal Gear Setup เหมาะสำหรับการใช้เข้าถึงตัวผู้ประสบภัยในช่วงแรก เพื่อทำการประเมินหาภาวะคุกคามชีวิตและให้การรักษาเพื่อหยุดภาวะคุกคามชีวิต โดยที่ Full Gear setup ยังคงจำเป็นต่อการกู้ภัยในพื้นที่ทุรกันดารหรือป่าภูเขา แต่จะอยู่ในส่วนของการทำ Prolong Field Care and Transport

Totem Ascend and Descend Mode (Personal Base)
Hauling and Lowering System (Team Base)

2 รูป ด้านบน คือ Minimal Gear / Light Weight Gear Setup (Personal base & Team base) ที่ใช้สาธิตในงานฝึกอบรม SAR2012 ณ อ.ปากช่อง เมื่อเดือน กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา

“What makes you Special Operators so special, if you can’t do what I need when I need it.”

สถานการณ์พิเศษ ย่อมต้องการทีมพิเศษ Medical Special Operation

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

Up ↑

%d bloggers like this: