Introduction to Technical Rescue
การกู้ภัยขั้นสูงคืออะไร
Technical Rescue (การกู้ภัยขั้นสูง หรือ การกู้ภัยเชิงเทคนิค) คือการช่วยชีวิต โดยใช้เครื่องมือและทักษะที่เกินกว่า การแพทย์ฉุกเฉินหรือการดับเพลิงปกติ โดยการกู้ภัยเฉพาะด้านเหล่านี้รวมถึง การตัดถ่าง การกู้ภัยที่อับอากาศ การกู้ภัยทางสูง การกู้ภัยโครงสร้างถล่ม การกู้ภัยทางน้ำ การกู้ภัยพื้นที่ถุรกันดาล เป็นต้น บ่อยครั้งที่การกู้ภัยขั้นสูงจะต้องปฏิบัติการร่วมกันหลายหน่วยงาน ซึ่งจะต้องใช้ระบบบัญชาการเหตุการ (Incident Command System) ในการบริหารจัดการเหตุการณ์และทรัพยากร ณ ที่เกิดเหตุ (wikipedia)
มาตรฐานในงานกู้ภัยขั้นสูง
งานกู้ภัยทางสูง มีมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ 1 อัน คือ มาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีมาตรฐาน NFPA 1006 และ NFPA 1670 ที่เกี่ยวข้องกับการกู้ภัยขั้นสูง
NFPA 1006
NFPA 1006 : Standard for Technical Rescue Personnel Professional Qualifications
คือมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องรู้ สำหรับนักดับเพลิงหรือผู้ปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินหากจะปฏิบัติการกู้ภัยขั้นสูง ซึ่ง NFPA 1006 เป็นมาตรฐานสำหรับบุคคล (NFPA1006)
NFPA 1670
NFPA 1670 : Standard on Operations and Training for Technical Search and Rescue Incidents
คือการระบุมาตรฐานและจัดตั้งระดับของความสามารถของแต่ละหน้าที่ เพื่อประสิทธิภาะและประสิทธิผลในการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยขั้นสูงโดยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับนักกู้ภัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอันตราย ระดับของความสามารถ และการสร้างเกณฑ์ของการค้นหาและกู้ภัยขั้นสูงในพื้นที่ปฏิบัติการ NFPA 1670 เป็นมาตรฐานสำหรับทีมปฎิบัติการ (NFPA1670)
การกู้ภัยอะไรบ้างที่เป็นการกู้ภัยขั้นสูง
โดย NFPA ได้นิยามและรวบรวมการกู้ภัยขั้นสูงไว้ดังนี้
- TOWER RESCUE
- ROPE RESCUE
- STRUCTURAL COLLAPSE RESCUE
- CONFINED SPACE RESCUE
- VEHICLE RESCUE
- ANIMAL TECHNICAL RESCUE
- WILDERNESS SEARCH AND RESCUE
- TRENCH RESCUE
- MACHINERY RESCUE
- CAVE RESCUE
- MINE AND TUNNEL RESCUE
- HELICOPTER RESCUE
- SURFACE WATER RESCUE
- SWIFTER RESCUE
- DIVE RESCUE
- ICE RESCUE
- SURF RESCUE
- WATERCRAFT RESCUE
- FLOODWATER RESCUE
ทั้งหมดนี้คือการกู้ภัยขั้นสูงที่นิยามโดย NFPA
การกู้ภัยขั้นสูงกับประเทศไทย
ประเทศไทยนั้นมีปฏิบัติการกู้ภัยขั้นสูงมาได้หลายปีแล้ว โดยปฏิบัติการแรกๆที่เข้ามาในกระเทศไทย คือ VEHICLE RESCUE และ MACHINERY RESCUE หรือที่เราเรียกกันว่าการตัดถ่าง และในช่วง 4 – 5 ปีมานี้ก็ได้มีการกู้ภัยขั้นสูงอื่นๆเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย โดยมีการฝึกอบรมกันทั่วไปทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน มูลนิธิ และ ชมรม สมาคมต่างๆ ได้แก่ Rope Rescue, Swifter Rescue, Confined Space Rescue, Surface Water Rescue และ Surf Rescue
หากท่านสนใจเกี่ยวกับการกู้ภัยทางสูงสามารถติดตามการอัพเดตความรู้ และข่าวสารต่างๆได้ที่เพจ Facebook Technical Emergency Rescue Team (Thailand)
Leave a Reply